วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พลเมืองดี


การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย     การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หมายถึง การปฎิบัติตนเป็นคนดีโดยยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต เช่น การร่วมกันทำประโยชน์เพื่อความผาสุกแก่ส่วนรวม เคารพซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น
     การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ
    ๑. คารวธรรม
     คารวธรรม หมายถึง การมีความเคารพซึ่งกันและกัน
     การประพฤติตนเป็นผู้มีคารวธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
     ๑. เคารพบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด เคารพญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุ เคารพครูอาจารย์ และเพื่อน ๆ โดยแสดงความเคารพและกล่าวคำทักทายด้วยคำสุภาพ
     ๒. เคารพกฏระเบียบทางสังคม เช่น ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม ปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศ
     ๓. เคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายผู้อื่นโดยเจตนา ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นต้น
     ๔. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ควรฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความตั้งใจและไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และไม่ควรยึดถือความคิดเห็นของตนว่าถูกเสมอไป
     ๕. เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญสูงสุดของประเทศ
     ๒. สามัคคีธรรม
    
สามัคคีธรรม หมายถึง การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
     การประพฤติตนเป็นผู้มีสามัคคีธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
     ๑. ร่วมกันคิด ช่วยกันวางแผน และร่วมกันทำงานด้วยความเต็มใจ
     ๒. ร่วมกันรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
     ๓. ร่วมกันติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
     ๔. ร่วมกันปรับปรุง มีการแก้ไข พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
     ๕. ร่วมกันทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
     ๓. ปัญญาธรรม
     ปัญญาธรรม หมายถึง การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
     การประพฤติตนเป็นผู้มีปัญญาธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
     ๑. มีความคิดกว้างไกล โดยรับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น
     ๒. ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ตัดสินปัญหา
     ๓. แสดงความคิดเห็น โดยปราศจากอคติ
     ๔. รู้จักการคิด มีการวิเคาระห์ วิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
     ๕. รู้จักโต้แย้งด้วยเหตุผล ถ้ามีการโต้แย้งในหมู่คณะให้ใช้เหตุผล และสติปัญญาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับฟัง ไม่ใช้อารมณ์มาเป็นตัวตัดสินปัญหา
 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 1 ความเป็นพลเมืองโลก
แนวคิดหลักการและสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกของสังคม
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธุ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
                ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และสถาบัน การมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในฐานะสมาชิกสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
2.       หลักการทฤษฎี ทางสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3.       สถาบันทางสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4.       บทบาทสมาชิกในสังคม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
5.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

6.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 2 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม
การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษย์ชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตย
ผลการเรียนรู้
1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธุ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับพลเมืองดี
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
2.       หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3.       การปกครองระบอบประชาธิปไตย
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
5.       ประเด็นที่เชื่อมโยงเรื่องราว และมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างในระดับท้องถิ่นกับระดับโลก ในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………….