วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหลากหลาย


โลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ธรรมจักร พรหมพ้วย

           หากบนผืนโลกใบนี้ไม่ได้ถูกปักปันด้วยเส้นแบ่งทางการเมืองให้เป็นดินแดนใหญ่ น้อยแล้ว จะพบว่ามนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มตามวิถีชีวิต ความเชื่อและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างกันมีมากกว่า 6,000 ภาษาทั่วโลก มีการกำหนดแบ่งเชื้อชาติเป็นกลุ่มชนเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดำรงสืบต่อเนื่องกันมา ยาวนานตั้งแต่ครั้งบรรพกาลก่อนที่จะแยกแยะส่วนต่างๆ ของพื้นโลกเป็นทวีป ประเทศหรือดินแดนที่มีขอบเขต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนสุวรรณภูมิที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำอำนวยประโยชน์แก่ การดำรงชีวิต กลุ่มชนรวมตัวกันจนเกิดเป็น “สังคม” และสร้าง “วัฒนธรรม” ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จวบจนเมื่อเกิดขึ้นเป็นรัฐที่มีอาณาเขตก็ยังได้รวมเอาวัฒนธรรมย่อยต่างๆ มากมาย ดังที่เราเคยได้ยินคำพูดอันแสดงถึงการรวมตัวของคนไทเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันมากมาย เช่น ไทเขิน
ไทยวน ไทย้อย ไทดำ ไทมลายู ฯลฯ แสดงความเป็น “ไท” อันหมายถึงอิสระและเสรีภาพที่จะยึดถือแบบแผนปฏิบัติทางวัฒนธรรมชุดหนึ่งตาม ที่ตนได้รับตั้งแต่กำเนิดหรือปรับเปลี่ยนตนเองไปเมื่อย้ายถิ่นฐานไปอยู่ใน วัฒนธรรมใหม่
           โลกปัจจุบันที่แคบลงด้วยความสะดวกสบายของการคมนาคมและการสื่อสาร รูปแบบใหม่ๆ ทำให้การย้ายถิ่นฐานทำได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางการงาน การสร้างครอบครัวใหม่หรือแม้แต่การศึกษา ในอดีต ความมุ่งหวังของเยาวชนไทยในต่างจังหวัดคือการได้มีโอกาสได้เรียนในเมืองหลวง ที่มีสถาบันอุดมศึกษารองรับมากมาย เป็นความมุ่งหวังของผู้ปกครอง ของหมู่บ้าน ของตำบลหรือของท้องถิ่นที่รอคอยการกลับมาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดให้มีความ เจริญมากขึ้น การมีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจึงเป็นเกียรติภูมิสูงสุดของบัณฑิตและ ผู้ที่รอคอยเหล่านั้น เห็นได้ชัดเจนจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เกิดจากการหลั่งไหลรวมตัวกันของเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นทางการศึกษา สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยที่เปิดเป็นตลาดวิชาให้ประชาชนทั่วไปได้ เล่าเรียนโดยเสมอภาคกัน
          ปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2501 ได้นำไปสู่การประกาศปฏิญญาว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเสนอให้ทุกประเทศมีการยอมรับและดำเนินการในสองสิ่ง คือ ขอให้มีการประกันการเคารพในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของ ทุกคนในสังคมภายใต้กรอบแห่งประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมนั้นๆ จากข้อนี้ได้ขยายผลให้ทุกชาติทั่วโลกได้คำนึงถึงปัจจัยด้านความหลากหลายทาง วัฒนธรรมเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ
การรวมตัวของนักศึกษาที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเกิดสังคมและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ดังเห็นได้จากการวมกลุ่มเป็นซุ้มรายรอบมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาที่มาจากแต่ละภูมิลำเนาได้มีโอกาสพบปะและช่วยเหลือกันในทุก ด้าน อีกทั้งการได้มีโอกาสพูดจาด้วยภาษาเดียวกันก็ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเดิม มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นให้กลุ่มภูมิภาคอื่นได้มีโอกาส เห็นถึงวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตน เช่น การกวนข้าวทิพย์ งานขันโตก งานพาแลง งานบุญเดือนสิบ
          แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการรวม ตัวของกลุ่มที่มาจากหลายวิถีชีวิต บางครั้งเกิดเป็นความขัดแย้งในรูปแบบที่แสดงออกโดยตรง เช่น การวิวาท ดังปรากฏในมหาวิทยาลัยบ่อยครั้งในอดีต รวมถึงการกีดกันผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม หรือแม้แต่การสร้างพลังมืดที่คุกคามซึ่งกันและกัน มีการรวมตัวเป็นกลุ่มอิทธิพลที่แฝงมาในรูปของพรรคนักศึกษา การโจมตีระหว่างกลุ่มภูมิภาค เช่น คนใต้และคนอิสาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ แม้จะมิได้เป็นปัญหาหลัก หากแต่สะท้อนว่า เมื่อกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกันนั้น จะมีวิธีการใดที่จะช่วยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดสมานฉันท์ แม้จะเป็นสังคมในระดับเล็ก เช่น ในมหาวิทยาลัยก็ตาม เพราะจิตสำนึกร่วมในความเชื่อที่มาจากท้องถิ่น ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกัน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจ ยิ่งในมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากเช่นนี้
          สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น อาจจะต้องเริ่มที่การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชน ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ได้มีความพยายามสร้างเสริมศีลธรรมให้กับนักศึกษาทุกคน ด้วยการบรรจุวิชา RU100 ความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้บัณฑิตรามคำแหงทุกคนเกิดจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ไม่สร้างปัญหาหรือขัดแย้งในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งยังมีหน้าที่จะต้องขยายต่อความรู้ความเข้าใจเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อได้ว่า การศึกษาที่ดีและสร้างเสริมคุณธรรมจะช่วยพัฒนาประชาชนได้เสมอ
          การสร้างการยอมรับและเคารพในเชื้อชาติ ศาสนา และเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นตามปฏิญญาสากลนั้น สามารถทำได้ด้วยการปลูกฝังความเข้าใจและเรียนรู้ในวัฒนธรรมของคนอื่น เช่น ลักษณะชาวไทยภาคใต้บางครั้งอาจดูกระโชกโฮกฮากหากแต่เต็มเปี่ยมด้วยความจริง ใจ ชาวไทย
อิสานอาจดูเชยล้าสมัยหากแต่ทรงไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรแต่อดทน เมื่อยอมรับในลักษณะอันแตกต่างระหว่างกันได้แล้วความสัมพันธ์อันดีย่อมเกิด ขึ้นเป็นมิตรภาพและการช่วยเหลือเผื่อแผ่ต่อกัน เมื่อบัณฑิตจะต้องกลับไปรับใช้บ้านเกิดไม่ว่าในท้องถิ่นใด ก็จะสามารถถ่ายทอดจิตสำนึกเช่นนี้ให้กับชุมชน เพราะชาติไทยมิได้มีเพียงชนกลุ่มเดียวหรือศาสนาเดียว การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกและยอมรับในความหลากหลายจึงจะสามารถนำมา ซึ่งสันติภาพที่จะบังเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยนี้ได้

           การประกันการเคารพในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของทุกคนใน สังคมภายใต้กรอบแห่งประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมนั้นๆ จากข้อนี้
1. กระแสโลกาภิวัตน์ที่มาจากพลังตลาดโดยไม่รู้ตัว ทุกวันเราถูกกระแสโฆษณาซึ่งเป็นกระแสหลักของการตลาดให้เราใช้สบู่ แชมพู ยาสีฟันและแต่งตัว เลือกสีผมและสีผิว
2. การไหลบ่าข้ามดินแดน การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และไม่มีใครสามารถห้ามการเดินทางเหล่านี้ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนที่ทำให้ความหลากหลายเกิดขึ้น หรืออาจเป็นอันตรายต่อความหลากหลายในตัวของมันเอง วัฒนธรรมท้องถิ่นอาจกลายพันธุ์ ถ้าไม่มีการอนุรักษ์หรือรักษาไว้ก็อาจสูญหายได้
3. ช่องว่างทางความรู้ ซึ่งบางครั้งใช้คำว่าช่องว่างทางดิจิทัล เพราะว่าความรู้อยู่ที่คลิกเดียว แค่เข้าไปในอินเตอร์เน็ต เราไม่รู้ก็ได้รู้เพียงแค่อ่านหนังสือเป็น แต่ตอนนี้ช่องว่างทางดิจิทัลก็กลายเป็นปัญหาของคนที่มีความสามารถในการใช้ อินเตอร์เน็ต และมีความสามารถในการใช้ภาษา เพราะในกรณีที่ไม่สามารถอ่านภาษาตัวเองจากอินเตอร์เน็ตได้ ก็อาจมีความรู้ตรงนั้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรมอย่างน้อย 4 มาตรา คือ
1. มาตรา 46 พูดถึงเรื่องบุคคลที่รวมกันเป็นท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิในการอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและชาติ
2. มาตรา 69 ระบุไว้ว่าบุคคลมีหน้าที่ ป้องกันประเทศ พิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. มาตรา 81 บทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของรัฐ รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการศึกษา อบรม สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. มาตรา 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 15  การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก …………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น