วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้ (Values & Perceptions)

            ค่านิยม (Value) ความหมายทางด้านการบริหาร หมายถึง เป็นความเชื่อทีถาวรเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเหมาะสม และไม่ใช่สิ่งซึ่งแนะนำพฤติกรรมของพนักงานให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ค่านิยมอาจอยู่ในรูปของการกำหนดความคิดเห็น (Ideology) และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในแต่ละวัน

ประเภทของค่านิยม
Phenix ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล
2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค
3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ
4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ
6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัย รุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

หน้าที่ของค่านิยม
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน
b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น
c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน
d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น
e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น
f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น
g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน


            การรับรู้ คือ การตีความหรือแปลความหมายข้อมูล (กระแสประสาท) จากการสัมผัส ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งที่มาสัมผัสนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร ในการตีความหรือแปลความหมายนี้ต้องอาศัยการจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้า ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมา อารมณ์ และแรงจูงใจ เช่น เรามองเห็นจุดดำ ๆ จุดหนึ่งอยู่ลิบ ๆ บนท้องฟ้า (การสัมผัส) เรายังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ต่อเมื่อจุด ๆ นั้นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ จนมองเห็นชัด เราจึงรู้ว่าที่แท้จริง ก็คือนกตัวหนึ่ง (การรับรู้) นั่นเอง หรือถ้าเราเห็นรูป เราจะรับรู้ทันทีว่า คือรูป สี่เหลี่ยม ( ) เพราะเราจัดหมวดหมู่โดยพิจารณาถึงรูปที่สมบูรณ์ของ นั่นเอง การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้ามีหลายลักษณะเช่น จัดโดยอาศัยความคล้ายคลึงกัน จัดโดยอาศัยความต่อเนื่อง เป็นต้น การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้านี้ช่วยให้เราแปลความหมาย (รับรู้) ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น การรับรู้ของคนเรามีหลายชนิด ดังต่อไปนี้

            1. การได้ยิน เราสัมผัสคลื่นเสียงทางหูแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้น จนรับรู้ว่าเป็นเสียงอะไร และเรายังสามารถบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทางของแหล่งกำเนิดเสียงได้อีกด้วย

            2. การมองเห็น เราสัมผัสคลื่นแสงจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางนัยน์ตาแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้าที่ เห็นนั้นคืออะไร

            3. การได้กลิ่น เราสัมผัสโมเลกุลของไอที่ระเหยมาจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ทางจมูกแล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าเป็นกลิ่นอะไร เหม็น หอม เน่า หรือ กลิ่นเครื่องเทศ

            4. การรู้รส เราสัมผัสสิ่งเร้าบางอย่างโดยลิ้น แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้ว่าสิ่งเร้านั้นมีรสอะไร หวาน เค็ม หรือขม เป็นต้น

            5. การรับรู้ทางผิวกาย เราสัมผัสสิ่งเร้าที่มากระตุ้นผิวกาย แล้วแปลความหมายของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นจนรับรู้เราว่าสัมผัสอะไร นอกจากนี้ยังรู้ถึงอุณหภูมิและความเจ็บปวดที่เกิดจากการสัมผัสอีกด้วย

            6. การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกาย ได้แก่การรับรู้ตำแหน่งหรือการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่ต้องอาศัยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ข้างต้น เช่น ถึงแม้หลับตาเราก็สามารถตักอาหารใส่ปากได้ถูกต้อง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเรารับรู้ว่าปาก แขน มือ ฯลฯ ของเราอยู่ตำแหน่งใดเราจึงทำเช่นนั้นได้ การรับรู้นี้เกิดจากการแปลความหมายของสภาวะกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อต่อต่าง ๆ ขณะยืดตัว หดตัวหรือคลายตัว เป็นสำคัญ การรับรู้ความรู้สึกภายในของร่างกายอีกชนิดหนึ่ง คือการทรงตัว ทำให้เราทราบว่าร่างกายเรากำลังอยู่ท่าไหนอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลหรือไม่ ถ้าไม่ก็พยายามปรับเข้าสู่สมดุลต่อไป มิฉะนั้นจะรู้สึกคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียนได้


 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 11  ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความสามารถในการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก และผลกระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษย์ชน
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.       หลักการ ประเมินคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับโลก และผลกระทบต่อเจตคติและค่านิยมของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความสำคัญและค่านิยมด้านสิทธิมนุษย์ชน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….


 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 12  ความหลากหลาย
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความรู้ความเข้าใจ การยอมรับและตระหนักในความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.       ความหลากหลายทางชีวภาพ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ความหลากหลาย


โลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ธรรมจักร พรหมพ้วย

           หากบนผืนโลกใบนี้ไม่ได้ถูกปักปันด้วยเส้นแบ่งทางการเมืองให้เป็นดินแดนใหญ่ น้อยแล้ว จะพบว่ามนุษย์รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มตามวิถีชีวิต ความเชื่อและภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างกันมีมากกว่า 6,000 ภาษาทั่วโลก มีการกำหนดแบ่งเชื้อชาติเป็นกลุ่มชนเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดำรงสืบต่อเนื่องกันมา ยาวนานตั้งแต่ครั้งบรรพกาลก่อนที่จะแยกแยะส่วนต่างๆ ของพื้นโลกเป็นทวีป ประเทศหรือดินแดนที่มีขอบเขต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินแดนสุวรรณภูมิที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำอำนวยประโยชน์แก่ การดำรงชีวิต กลุ่มชนรวมตัวกันจนเกิดเป็น “สังคม” และสร้าง “วัฒนธรรม” ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จวบจนเมื่อเกิดขึ้นเป็นรัฐที่มีอาณาเขตก็ยังได้รวมเอาวัฒนธรรมย่อยต่างๆ มากมาย ดังที่เราเคยได้ยินคำพูดอันแสดงถึงการรวมตัวของคนไทเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันมากมาย เช่น ไทเขิน
ไทยวน ไทย้อย ไทดำ ไทมลายู ฯลฯ แสดงความเป็น “ไท” อันหมายถึงอิสระและเสรีภาพที่จะยึดถือแบบแผนปฏิบัติทางวัฒนธรรมชุดหนึ่งตาม ที่ตนได้รับตั้งแต่กำเนิดหรือปรับเปลี่ยนตนเองไปเมื่อย้ายถิ่นฐานไปอยู่ใน วัฒนธรรมใหม่
           โลกปัจจุบันที่แคบลงด้วยความสะดวกสบายของการคมนาคมและการสื่อสาร รูปแบบใหม่ๆ ทำให้การย้ายถิ่นฐานทำได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางการงาน การสร้างครอบครัวใหม่หรือแม้แต่การศึกษา ในอดีต ความมุ่งหวังของเยาวชนไทยในต่างจังหวัดคือการได้มีโอกาสได้เรียนในเมืองหลวง ที่มีสถาบันอุดมศึกษารองรับมากมาย เป็นความมุ่งหวังของผู้ปกครอง ของหมู่บ้าน ของตำบลหรือของท้องถิ่นที่รอคอยการกลับมาพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดให้มีความ เจริญมากขึ้น การมีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจึงเป็นเกียรติภูมิสูงสุดของบัณฑิตและ ผู้ที่รอคอยเหล่านั้น เห็นได้ชัดเจนจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เกิดจากการหลั่งไหลรวมตัวกันของเยาวชนที่มีความมุ่งมั่นทางการศึกษา สอดคล้องกับปณิธานของมหาวิทยาลัยที่เปิดเป็นตลาดวิชาให้ประชาชนทั่วไปได้ เล่าเรียนโดยเสมอภาคกัน
          ปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลายขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2501 ได้นำไปสู่การประกาศปฏิญญาว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเสนอให้ทุกประเทศมีการยอมรับและดำเนินการในสองสิ่ง คือ ขอให้มีการประกันการเคารพในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของ ทุกคนในสังคมภายใต้กรอบแห่งประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมนั้นๆ จากข้อนี้ได้ขยายผลให้ทุกชาติทั่วโลกได้คำนึงถึงปัจจัยด้านความหลากหลายทาง วัฒนธรรมเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ
การรวมตัวของนักศึกษาที่มาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเกิดสังคมและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย ดังเห็นได้จากการวมกลุ่มเป็นซุ้มรายรอบมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาที่มาจากแต่ละภูมิลำเนาได้มีโอกาสพบปะและช่วยเหลือกันในทุก ด้าน อีกทั้งการได้มีโอกาสพูดจาด้วยภาษาเดียวกันก็ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเดิม มีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นให้กลุ่มภูมิภาคอื่นได้มีโอกาส เห็นถึงวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตน เช่น การกวนข้าวทิพย์ งานขันโตก งานพาแลง งานบุญเดือนสิบ
          แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการรวม ตัวของกลุ่มที่มาจากหลายวิถีชีวิต บางครั้งเกิดเป็นความขัดแย้งในรูปแบบที่แสดงออกโดยตรง เช่น การวิวาท ดังปรากฏในมหาวิทยาลัยบ่อยครั้งในอดีต รวมถึงการกีดกันผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม หรือแม้แต่การสร้างพลังมืดที่คุกคามซึ่งกันและกัน มีการรวมตัวเป็นกลุ่มอิทธิพลที่แฝงมาในรูปของพรรคนักศึกษา การโจมตีระหว่างกลุ่มภูมิภาค เช่น คนใต้และคนอิสาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ แม้จะมิได้เป็นปัญหาหลัก หากแต่สะท้อนว่า เมื่อกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาอยู่ร่วมกันนั้น จะมีวิธีการใดที่จะช่วยสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดสมานฉันท์ แม้จะเป็นสังคมในระดับเล็ก เช่น ในมหาวิทยาลัยก็ตาม เพราะจิตสำนึกร่วมในความเชื่อที่มาจากท้องถิ่น ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกัน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจ ยิ่งในมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากเช่นนี้
          สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น อาจจะต้องเริ่มที่การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชน ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ได้มีความพยายามสร้างเสริมศีลธรรมให้กับนักศึกษาทุกคน ด้วยการบรรจุวิชา RU100 ความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้บัณฑิตรามคำแหงทุกคนเกิดจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ไม่สร้างปัญหาหรือขัดแย้งในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งยังมีหน้าที่จะต้องขยายต่อความรู้ความเข้าใจเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อได้ว่า การศึกษาที่ดีและสร้างเสริมคุณธรรมจะช่วยพัฒนาประชาชนได้เสมอ
          การสร้างการยอมรับและเคารพในเชื้อชาติ ศาสนา และเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นตามปฏิญญาสากลนั้น สามารถทำได้ด้วยการปลูกฝังความเข้าใจและเรียนรู้ในวัฒนธรรมของคนอื่น เช่น ลักษณะชาวไทยภาคใต้บางครั้งอาจดูกระโชกโฮกฮากหากแต่เต็มเปี่ยมด้วยความจริง ใจ ชาวไทย
อิสานอาจดูเชยล้าสมัยหากแต่ทรงไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรแต่อดทน เมื่อยอมรับในลักษณะอันแตกต่างระหว่างกันได้แล้วความสัมพันธ์อันดีย่อมเกิด ขึ้นเป็นมิตรภาพและการช่วยเหลือเผื่อแผ่ต่อกัน เมื่อบัณฑิตจะต้องกลับไปรับใช้บ้านเกิดไม่ว่าในท้องถิ่นใด ก็จะสามารถถ่ายทอดจิตสำนึกเช่นนี้ให้กับชุมชน เพราะชาติไทยมิได้มีเพียงชนกลุ่มเดียวหรือศาสนาเดียว การมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกและยอมรับในความหลากหลายจึงจะสามารถนำมา ซึ่งสันติภาพที่จะบังเกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยนี้ได้

           การประกันการเคารพในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของทุกคนใน สังคมภายใต้กรอบแห่งประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็น ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมนั้นๆ จากข้อนี้
1. กระแสโลกาภิวัตน์ที่มาจากพลังตลาดโดยไม่รู้ตัว ทุกวันเราถูกกระแสโฆษณาซึ่งเป็นกระแสหลักของการตลาดให้เราใช้สบู่ แชมพู ยาสีฟันและแต่งตัว เลือกสีผมและสีผิว
2. การไหลบ่าข้ามดินแดน การโยกย้ายถิ่นฐานของมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และไม่มีใครสามารถห้ามการเดินทางเหล่านี้ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนที่ทำให้ความหลากหลายเกิดขึ้น หรืออาจเป็นอันตรายต่อความหลากหลายในตัวของมันเอง วัฒนธรรมท้องถิ่นอาจกลายพันธุ์ ถ้าไม่มีการอนุรักษ์หรือรักษาไว้ก็อาจสูญหายได้
3. ช่องว่างทางความรู้ ซึ่งบางครั้งใช้คำว่าช่องว่างทางดิจิทัล เพราะว่าความรู้อยู่ที่คลิกเดียว แค่เข้าไปในอินเตอร์เน็ต เราไม่รู้ก็ได้รู้เพียงแค่อ่านหนังสือเป็น แต่ตอนนี้ช่องว่างทางดิจิทัลก็กลายเป็นปัญหาของคนที่มีความสามารถในการใช้ อินเตอร์เน็ต และมีความสามารถในการใช้ภาษา เพราะในกรณีที่ไม่สามารถอ่านภาษาตัวเองจากอินเตอร์เน็ตได้ ก็อาจมีความรู้ตรงนั้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรมอย่างน้อย 4 มาตรา คือ
1. มาตรา 46 พูดถึงเรื่องบุคคลที่รวมกันเป็นท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิในการอนุรักษ์ หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและชาติ
2. มาตรา 69 ระบุไว้ว่าบุคคลมีหน้าที่ ป้องกันประเทศ พิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. มาตรา 81 บทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของรัฐ รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการศึกษา อบรม สนับสนุนและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. มาตรา 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

 
กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 15  การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก …………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….